วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลวงพ่อปี วัดพิหารแดง ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี สายเหนียว โบราณคณาจารย์เก่าแก่


หลวงพ่อปี วัดพิหารแดง ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี




ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เมืองสุพรรณยุคก่อนกึ่งพุทธกาล
มีวิชาอาคมเข้มขลังนัก เป็นพระอาจารย์สักยันต์รุ่นเก่าที่ขึ้นชื่อของเมืองสุพรรณ
เป็นศิษย์ของพระเกจิดังหลายท่าน ได้แก่
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณ
หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณ
หลวงพ่อจอน วัดพระลอย จ.สุพรรณ
หลวงพ่อคง วัดแค จ.สุพรรณ
ท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดังนี้
หลวงพ่อปุย วัดเกาะ
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
หลวงพ่อเซ้ง วัดพร้าว
หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง
ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้ 2 ประเภท ซึ่งนับว่าน้อยมากและ
หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2496 คือ
เหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
พระพิมพ์ดินเผา พิมพ์ พุทธกวัก , นาคปรก , อุปคุต ซึ่งเนื้อละเอียดมากและมีขนาดค่อนข้างเล็ก

หลวงปู่นิ่ม วัดพุทธมงคล จ.สุพรรณบุรี วิชาปูหนีบทรัพย์อันโด่งดัง

    "พระครูสุนันทโชติ" หรือ "หลวงปู่นิ่ม โชติธัมโม" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งของเมืองสุพรรณ เป็นพระเกจิที่ได้รับการยก ย่องว่าเคร่งครัดพระธรรมวินัย ใส่ใจวัตรปฏิบัติของสงฆ์

    ชื่อเสียงของท่าน เป็นที่รับรู้กันทั่วถึงประสบการณ์ที่เล่าขานด้านวัตถุมงคล

    ปัจจุบัน สิริอายุ 84 พรรษา 64 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล (หนองปรือ) หมู่ที่ 7 ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

    อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี 2471 ด้วยกิริยามารยาทของท่านที่เรียบร้อยมาตั้งแต่เด็ก มารดาจึงตั้งชื่อให้ว่า นิ่ม

    เมื่อเรียนจบประถมศึกษาปีที่ 5 แล้ว (สมัยก่อนถือว่าสูง เพราะคนส่วนใหญ่เรียนกันแค่ ป.4 ก็เป็นครูประชาบาลได้) ท่านช่วยทางบ้านประกอบกิจการระยะหนึ่ง แต่ด้วยความมีจิตใจเข้าหาพระพุทธศาสนา เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงขออนุญาตบิดา-มารดาเข้าอุปสมบท มีพระสมณกิจพิศาล (หลวงปู่เปลื้อง) วัดสุวรรณ ภูมิ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปริยัติคุณาภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุจินต์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายา โชติธัมโม มีความหมายว่าผู้โชติช่วงในพระธรรม

    หลังอุปสมบท หลวงปู่กล้าย วัดหงส์รัตนาราม ชักชวนให้ไปอยู่จำพรรษาด้วย พร้อมสอนวิทยาคมและเรียนพระปริยัติธรรม มุมานะ ศึกษาเล่าเรียนจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก นอกจากนี้ ยังศึกษามูลกัจจายน์และเรียนภาษาบาลีแปลพระธรรมบทด้วย

    ท่านยังให้ความสนใจด้านวิทยาคม ฝากตัวเป็นศิษย์พระเทพวุฒาจารย์ (หลวงปู่เปลื้อง) พระเกจิอาจารย์ใหญ่เมืองสุพรรณบุรี ที่สืบวิชาอาคมของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และหลวงปู่สอน วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี และยังเป็นศิษย์พระธรรมมหาวีรานุวัตร สืบสายจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม

    พระเกจิอาจารย์ในอดีตที่ถ่ายทอดวิชาให้หลวงปู่นิ่มมากที่สุด คือ หลวงปู่กล้าย วัดหงส์ฯ พร้อมกันนี้ก็ได้ร่ำเรียนคาถาเคล็ดวิชาอาคมจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, สมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) วัดโพธิ์ฯ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อสม วัดดอนบุปผาราม, หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง, หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น

    ในช่วงเวลาว่าง ท่านมักเดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย เพราะเป็นสหธรรมิกรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน

    เมื่อได้สนทนากันแล้ว หลวงพ่อแต้มแนะนำให้มาสร้างวัดหนองปรือ (วัดพุทธมงคล) ต.สระแก้ว ด้วยพื้นที่ที่เงียบสงบ เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรมและเจริญกัมมัฏฐาน

    ในปี พ.ศ.2500 หลวงปู่นิ่มจึงได้ช่วยสร้างวัดพุทธมงคล พร้อมทั้งรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาชาวบ้านแถบนั้นเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้ช่วยกันสร้างกุฏิไม้ เพื่อใช้เป็นที่เจริญสมณธรรม


    จากเริ่มแรกมีเพียงกุฏิไม้หลังเดียว ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับการพัฒนาขึ้น เพียบพร้อมด้วยเสนาสนะ อุโบสถ, ศาลาการเปรียญ, หมู่กุฏิสงฆ์, หอระฆัง, หอสวดมนต์, ซื้อที่ดินขยายเขตวัด ฯลฯ

    ด้วยความเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดพระธรรมวินัย และเป็นศิษย์พระเกจิดังมากมาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

    ในแต่ละวันมีผู้เลื่อมใสศรัทธา เดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ไม่ขาดสาย

    สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาคศรัทธาก็นำมาพัฒนาวัด สร้างสาธารณู ปโภค สาธารณูปการ รวมทั้งบริจาคสาธารณกุศลช่วยชุมชน

    หลวงปู่นิ่มปรารภเสมอว่า ทรัพย์สินเงินทองไม่มีความจำเป็นต่อสมณเพศ เพราะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยศรัทธาของญาติโยม

    ส่วนหลักธรรมที่ท่านพร่ำสอนญาติโยมมาโดยตลอด คือ การรักษาศีล 5 ให้มุ่งทำดีละชั่วแล้วชีวิตจะพานพบแต่สิ่งดีๆ

    หลวงปู่นิ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย มักจะพร่ำสอนญาติโยมที่เข้ามากราบไหว้เสมอๆ ว่า

    "คนเราจะมีความสุขสงบในสังคมได้ ต้องถือศีล 5 เพราะทำให้สังคมสงบสุข ปิดกั้นภัยเวรต่างๆ ได้ แต่ที่พวกเรารู้สึกว่าทำได้ยากหรือขัดกับชีวิตประจำวัน เพราะจิตใจของเราเป็นสำคัญ"

    กล่าวขวัญกันว่า หลวงปู่นิ่ม เมืองสุพรรณเก็บตัวเงียบมานาน แต่คน สุพรรณฯ รู้จักดี ด้วยความที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายรุ่น ทั้งเหรียญพระ พระผง รูปหล่อ พระกริ่ง ฯลฯ เพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์และเสนาสนะภายในวัด

    ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงปู่นิ่มที่ได้รับความนิยมในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสม โดยเฉพาะเครื่องรางของขลัง "ปูหนีบทรัพย์" ซึ่งสร้างจากตำราโบราณ จากนั้นก็ลองทำเครื่องรางปูหนีบทรัพย์ และปลุกเสกด้วยคาถาที่ระบุไว้ ตอนนั้นแกะด้วยไม้ระกำ พอปลุกเสกได้แล้วก็เอาวางไว้ที่หัวนอน

    ครั้งแรกที่หลวงปู่นิ่มทำปูหนีบทรัพย์ ลักษณะเป็นแหวนปูหนีบทรัพย์ ทำอย่างโบราณลงยันต์กำกับไม่ค่อยสวยนัก ทำไว้ 3 ขนาด ว่ากันว่าดีทางด้านเงิน โชคลาภ ลงทุน เสี่ยงโชค

    คาถาบูชาแหวนปูหนีบทรัพย์ ท่องนะโม 3 จบ แล้วว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง อาราธนานัง มะอะอุ อุมะอะ อะอุมะ สาธุ"

    ชื่อเสียงของหลวงปู่นิ่มโด่งดัง เป็นที่กล่าวขวัญในหมู่ศิษย์ชาวเมืองสุพรรณเป็นยิ่งนัก ทำให้ท่านได้รับกิจนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพื้นที่ภาคกลางและพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสำคัญ

    เกียรติคุณบารมี รวมทั้งพุทธาคมอันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีบารมีทางกระแสจิตแก่กล้า ระดับแนวหน้าของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง

หลวงพ่อสมบุญ ปิยธมโม วัดลำพันบอง จ.สุพรรณบุรี

    หลวงพ่อสมบุญ ปิยธมโม เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2465 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นคนไทย เชื้อสายลาว ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้าน หนองอีเงิน ต.ห้วยขมิ้น อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.ด่านช้าง) โยมบิดาชื่อ คำ โยมมารดาชื่อ ถิน นามสกุล ชมชื่น อาชีพทำไร่ ทำนา มีพี่น้องทั้งสิ้น 6 คน หลวงพ่อเป็นบุตรคนโต มีน้องชายอีก 2 คน และน้องสาวอีก 3 คน

    ในวัยเด็กได้เรียนหนังสือกับพระที่วัดวังกุ่ม ต.ห้วยขมิ้น เป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ปี เหตุที่ไม่ได้เรียนหนังสือคือ สืบเนื่องจากท่านมีภาระต้องแบ่งเบา จึงต้องละทิ้งการเรียนเพื่อช่วยครอบครัวประกอบอาชีพในฐานะพี่ชายคนโต

    ล่วงถึงพุทธศักราช 2485 พระเดชพระคุณหลวงพ่อมีอายุครบ 20 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทตามประเพณีที่ วัดป่าสะแก มี พระครูวิสิทธิ์สิทธิการ (อาจารย์เพชร) เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาที่วัดป่าสะแกประมาณ 2 พรรษา จึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดต่างๆ ในละแวกนั้นอีก 4 สำนัก คือ วัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา วัดวังคัน 3 พรรษา วัดวังกุ่ม 2 พรรษา และวัดดอนเก้าอีก 2 พรรษา จากนั้นจึงกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือเมื่อปี 2498 รวมระยะเวลาในการจาริกจำพรรษายังอารามต่างๆ ประมาณ 13 พรรษาเศษ


    หลวงพ่อสมบุญ ปิยธมโม วัดลำพันบอง ต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ชีวิตของหลวงพ่อดูท่าจะรุ่งเรืองในร่มเงาของผ้ากาสาวพัสตร์ หากแต่เป็นด้วยภาระทางครอบครัว เมื่อเห็นว่าท่านบวชนานจนสมควรแก่เวลา ญาติพี่น้องจึงขอร้องให้ลาสิกขา หลังจากครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนมะเกลือได้เพียงแค่ 2 ปี

    เนื่องจากโยมบิดาและโยมมารดาเริ่มเข้าวัยชรา ทำให้ท่านผู้ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของตระกูลมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาเพื่อดูแลครอบครัว ล่วงเข้าปีพุทธศักราช 2499 หลวงพ่อสมบุญ จึงจำต้องลาสิกขาออกมาสู่เพศฆราวาส เมื่อลาสิกขาออกมาโยมมารดาของท่านเกรงว่าลูกชายจะหนีไปบวชอีกครั้ง จึงจัดการให้ท่านแต่งงานกับ นางสาวสุวรรณ สะราคำ ผู้ซึ่งเป็นลูกสาวนายดิน-นางแก้ว สะราคำ ชาวบ้านดอนมะเกลือ ต.ป่าสะแก เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้วได้ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ช่วยบิดา-มารดาอยู่ไม่นาน จึงย้ายนิวาสสถานมาเปิดกิจการขายของที่บ้านทับละคร เขต อ.ด่านช้าง ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่บ้านทับละครได้ประมาณ 6 เดือน นางสุวรรณผู้เป็นภรรยาได้ถึงแก่กรรม เนื่องจากไข้ป่าที่แทรกซ้อนมาจากการคลอดบุตร เมื่อภรรยาเสียชีวิตท่านจึงยกลูกสาววัยแบเบาะให้ญาติฝ่ายภรรยาอุปการะ แล้วหันหลังให้โลกวิสัย ตั้งใจบวชจนตายคาผ้าเหลือง ส่วนลูกสาวคนเดียวของท่านเมื่อลืมตาดูโลกอยู่ได้ประมาณ 4 เดือนก็เสียชีวิต ทำให้ท่านหมดสิ้นซึ่งห่วงร้อยรัดตัดสิ้นในทางโลกโดยสิ้นเชิง หลวงพ่อจึงหวนกลับสู่เพศบรรพชิตอีกครั้งหลังจากที่ลาสิกขาออกไปได้เพียงแค่ 1 ปี กับ 3 เดือน

    ต้นปีพุทธศักราช 2501 เสร็จสิ้นงานฌาปนกิจศพนางสุวรรณผู้เป็นภรรยา พระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงเข้าสู่พัทธสีมาอีกครั้ง มี พระอธิการกัณหา* วัดป่าสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์ (*ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูสุขุมวิหารการ เจ้าคณะตำบลป่าสะแก)

    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดวังคอไห 1 พรรษา ย้ายไปวัดดอนมะเกลือ 2 พรรษา แล้วย้ายกลับมาอยู่วัดป่าสะแกอีก 4 พรรษา จนล่วงถึงพุทธศักราช 2507 (หลังจากอุปสมบทได้ 7 พรรษา) จึงรับอาราธนามารักษาการเจ้าอาวาส วัดลำพันบอง เขต อ.หนองหญ้าไซ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2511 รับภาระดูแลปกครอง วัดลำพันบอง จนรุ่งเรืองตราบจนปัจจุบัน นับได้ 49 ปีบริบูรณ์

    คชสิงห์ รุ่นแรก สร้าง 399 ตัว จารึกหมายเลขและนามย่อ ลบ. หมายถึง หลวงพ่อสมบุญ ปลุกเสกวันที่ 28 เม.ษ. 2556 แหวนหน้าโล่รุ่นสอง หน้าเล็ก จารึก ลบ. ๘๓ เนื่องจากแหวนรุ่นแรกโด่งดังมาก่อนหน้า จึงกลายเป็นของดีที่หวงแหนในท้องถิ่น (คนส่วนใหญ่มักจะนำขึ้นหิ้งเก็บเงียบกันหมด) แหวนรุ่นสองจึงถือเป็นแหวนรุ่นประสบการณ์ เพราะคนส่วนใหญ่ถือว่าเป็น “รุ่นใช้” ส่วนรุ่นแรกนั้นยกไว้เป็น “รุ่นโชว์” แหวนหน้าโล่รุ่นสอง หน้าเล็ก จารึก ลบ. ๘๓ เนื่องจากแหวนรุ่นแรกโด่งดังมาก่อนหน้า จึงกลายเป็นของดีที่หวงแหนในท้องถิ่น (คนส่วนใหญ่มักจะนำขึ้นหิ้งเก็บเงียบกันหมด) แหวนรุ่นสองจึงถือเป็นแหวนรุ่นประสบการณ์ เพราะคนส่วนใหญ่ถือว่าเป็น “รุ่นใช้” ส่วนรุ่นแรกนั้นยกไว้เป็น “รุ่นโชว์”

    ปฏิปทา
    หลวงพ่อเป็นพระผู้ทรงรัตตัญญู มีอาวุโส (วัยวุฒิ) สูงยิ่งอีกรูปหนึ่งของจังหวัด สุพรรณบุรี นับถึงปัจจุบันคือ 91 พรรษา (เท่ากับหลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ แต่หลวงพ่อแก่เดือนกว่า) ดำรงมั่นในพระธรรมวินัยมาโดยเคร่งครัดมิได้ด่างพร้อยเศร้าหมอง หมดจดงดงาม สมหน่อเนื้อพระชินวรณ์อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือพระเดชพระคุณท่านประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม 4 ประการ อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ประกอบด้วย เมตตา กรุณา ปรากฏแก่สาธุชนมาโดยตลอด ทั้งยังเป็นสัตบุรุษ ผู้รู้จักเหตุและผลเป็นที่ตั้ง ไม่มัวเมาลุ่มหลงในโลกธรรม มีวาจาเป็นมงคล แยบคายในปฏิสันถาร ทั้งยังรู้จักถนอมจิตใจของสาธุชนทั้งใกล้ไกลไม่มียกเว้น ไม่จำกัดว่ายากดีมีจน ท่านสงเคราะห์ให้จนหมดสิ้น มิมีผู้ใดที่มากราบท่านแล้วจะพบกับความผิดหวัง ที่สำคัญยิ่งคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระผู้มีอารมณ์ขัน เป็นที่ติดตราตรึงใจสาธุชนผู้สนทนาธรรมมาโดยตลอด

    กิจวัตรที่กระทำมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงวัยชราคือ การปัดกวาดลานวัด เมื่อถึงเวลาเย็นท่านจะเดินถือเสียมประจำตัวลงมานั่งยองๆ เพื่อถากหญ้าอยู่กลางลานวัด เป็นที่ชินตามาอย่างยาวนาน มีเรื่องขำขันเล่ากันว่า เมื่อสาธุชนบ้านไกลมาหาท่าน ครั้นพอเห็นหลวงตาแก่ๆ รูปหนึ่งนั่งก้มหน้าก้มตาถือเสียมถากหญ้าอยู่กลางลานวัด จึงเอ่ยปากถามถึง หลวงพ่อสมบุญ ว่าอยู่ (บนกุฏิ) หรือไม่ ท่านเฉไฉแกล้งตอบไปว่า บ่ อยู่ ดอก หลวงพ่อสมบุญ บ่ อยู่ ท่านบ่ว่าง พอเสร็จสิ้นภารกิจท่านก็เดินถือเสียมตามโยมขึ้นไป เสร็จสรรพก็เข้าไปนั่งรับแขกยังอาสนะในนาม หลวงพ่อสมบุญ ตามเดิม เป็นที่ขำขันกันในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ไกลมาโดยตลอด

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระเถระผู้มากด้วยคุณธรรม มโนธรรม ละโลภ โกรธหลงได้อย่างวิเศษ สมกับคำนำหน้าที่ข้าพเจ้าของแต่งเติมเสริมเป็นสร้อยทินนามด้วยคำว่า พระเดชพระคุณ กล่าวคือ ประกอบด้วย พระเดช อันยิ่งยงด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติตรง ดำรงตั้งมั่นอยู่ใน ฌานอภิญญา ประกอบกับสรรพวิชาพุทธาคมที่ร่ำเรียนมาจากครูอาจารย์ ก่อเกิดคำว่า ความเข้มขลัง ทางเวทมนต์อันจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป

    สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคำว่าพระเดช นั่นคือคำว่า พระคุณ ซึ่ง หลวงพ่อสมบุญ ได้ถือสงเคราะห์เหมาะสมกับคำว่า พระคุณ เป็นที่สุด ซึ่งคำนี้เองที่ทำให้คุณธรรมวิเศษที่ปรากฏในดวงจิต มีความสว่างไสว หนักแน่นมั่นคง ทรงความแก่กล้า ด้วยท่านละความโลภโดยสิ้นเชิง กล่าวกันว่า ใครผู้ใดก็ตามถ้ากล้าขอ รับรองได้ว่า จะไม่มีวันได้รับการปฏิเสธจากปากพระเดชพระคุณหลวงพ่อแม้แต่คำเดียว ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเลวร้ายมาจากที่ใดก็ตาม ว่ากันว่าผู้ที่ได้รับจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อไปมากที่สุดนั้น แท้จริงไม่ใช่ศิษย์ใกล้ชิด ไม่ใช่คนสนิท แต่เป็นคนที่กล้าขอ เรียกได้ว่าใครก็ตามที่ ขอมาก หรือ เอ่ยปากขอบ่อยๆ ย่อมได้จากหลวงพ่อมากพอๆ กับความกล้าของบุคคลนั้น เท่าที่รับฟังจากปากชาวบ้านย่านนั้นล้วนกล่าวตรงกันว่า ไม่มีใครสักคนที่เอ่ยปาก ขอ หลวงพ่อแล้วจะไม่มีคำว่า ไม่ ฟังความได้ว่า ขอหมื่นก็ต้องได้หมื่น ขอแสนก็ต้องได้แสนเป็นเช่นนี้เสมอๆ ทาน ที่หลวงพ่อกระทำนอกจากจะทำได้ยากแล้วยังได้ชื่อว่า หาผู้ทำทานเช่นนี้ยากยิ่งนัก เพราะทานประเภทนี้พบได้แต่เพียงพระอริยบุคคลเท่านั้น ด้วยเป็นทานที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ไม่หวังชาตินี้หรือชาติหน้า เป็นทานที่ทำให้ผู้สละหมดสิ้นซึ่งความตระหนี่ ทานเช่นนี้จึงหมดจดงดงาม ยากจักหาใครเทียม เรื่องเงิน 4 ล้านตามคำกล่าวหาได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นเงินส่วนตัวที่ท่านยกให้ ส่วนผู้ที่ได้จะนำไปทำสิ่งใด จะขาดทุนหรือกำไรท่านว่ามันเป็นกรรมของมัน


    ด้วยเหตุที่ท่านไม่เคยขัดใจใคร ทั้งยังไม่เคยหวงห้ามใคร ใครของอะไรท่านให้ทั้งหมด เพียงแค่นิ่ง หรือคำว่า อือ เพียงแค่คำเดียว นี่คือ หลวงพ่อสมบุญ เนื้อนาบุญของคน สุพรรณบุรี เรื่องนี้ ครูอุดม กับ ผ.อ.สวง วงษ์สุวรรณ ให้ความเห็นที่ตรงกันว่า สำหรับ หลวงพ่อแล้วใครก็ได้ ล้วนแต่ได้เหมือนกัน การ ให้ เช่นนี้เหมือนการให้ทานของพระอริยเจ้า อันเป็นทานที่เราๆ ท่านๆ จะไม่มีวันได้เห็นจากพระรูปใด (เท่าที่ทราบมีเพียง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เท่านั้น ที่ให้ทานแบบเดียวกันกับ หลวงพ่อสมบุญ ) เป็นไปอย่างงดงามด้วยประการฉะนี้ เป็นจริงมาอย่างยาวนานและจะเป็นเช่นนี้ตลอดกาล สมดังคำพูดตอนหนึ่งซึ่งอาจารย์อุดมบันทึกไว้ว่า เพิ่นคงจำเป็น ถ้าไม่เดือดร้อนเพิ่นคงไม่มาพึ่งพาพระหรอก ถ้าเฮาช่วยเหลือ คงเกิดประโยชน์ต่อเพิ่นมาก เงินหมดก็บ่เป็นหยัง เพราะเฮาเฒ่าแล้ว ตายไปก็เอาเงินติดตัวไปบ่ได้ เหลือแต่ความดีติดตัวไปก็พอ สาธุ กราบหลวงพ่อครั้งที่ 1 สำหรับพระผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ

    แหวนงูนาคบาศก์ นิยมมาก จึงสร้างติดต่อกันมาตลอด เพราะหลวงพ่อต้องการให้มีเพียงพอสำหรับผู้มาทำบุญ เนื่องจาก “ประสบการณ์” อันสูงยิ่ง จึงไม่มีใครเกี่ยงเรื่องรุ่น เพราะส่วนใหญ่ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคลมักเกิดกับวัตถุมงคลประเภท แหวน และสิงห์ (ราคาถูก) เป็นส่วนมาก การจะทราบคือต้องสังเกตใต้ท้องวงที่มักจะตอกอักษรไว้ว่า ส.บ. หรือไม่ก็ ล.บ. เป็นเอกลักษณ์ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อสมบุญ เป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นผู้ถ่อมตนไม่โอ้อวดคุณวิเศษในตัวเอง ที่เด่นชัดคือประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่าน ล้วนแต่เป็นประจักษ์พยานยืนยันว่าท่านมีดีเกินตัว แต่ท่านชอบเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่อย่างพระธรรมดา เวลาวัตถุมงคลที่ศิษย์นำไปใช้ได้ผลในทางความขลัง รายแล้วรายเล่าย้อนกลับมากล่าวขวัญสรรเสริญให้ท่านฟัง ท่านกลับถ่อมตนจนเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะ แหวนนิ้ว ของท่านนับว่ามีประสบการณ์เรื่องอสรพิษกันมากราย ดังเช่นเหยียบงูเห่า งูจงอาง แต่ปรากฏว่างูไม่สามารถอ้าปากกัดได้ บางรายถูกงูแมวเซากัด บางรายถูกงูจงอางกัด แต่งูพิษกัดศิษย์ท่านไม่เข้า เมื่อรอดตายแล้วยังมาเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็พูดว่า งูมันบ่มีแข่ว (ฟัน) ไปเหยียบหัวมันไว้บ้าง งูมันตาฟางบ้าง มันจะกัดได้จังได๋ เมื่อครั้งที่หมูป่ากัดชาวบ้านไม่เข้าเพราะสวมแหวนของท่านที่นิ้ว ท่านก็บอกว่า หมูมันเฒ่า (แก่) แข่ว (ฟัน) มันหักบ้าง แข่วมันหร่อง (หรอ) จึงกัดบ่เข้า ที่หนักหนายิ่งกว่าคือ มีศิษย์บางรายประพฤติตัวไม่ดี เป็นนักค้ายา ถูกเจ้าหน้าที่ยิงไม่เข้า เมื่อรอดมาได้จึงกลับมากราบที่ท่านช่วยชีวิตไว้ ศิษย์ใกล้ชิดที่ทราบความเป็นไปจึงท้วงติงในภายหลังว่า ท่านกำลังช่วยคนผิด ช่วยคนชั่วให้รอดชีวิต เพื่อเป็นภัยสังคมต่อไป เมื่อถามว่า หลวงพ่อไปช่วยมันไว้ทำไม ท่านก็ตอบศิษย์ไปว่า มันบ่ได้เขียนหนังสือติดหน้าผากไว้ว่า มันเป็นคนดีหรือเป็นคนบ่ดีนี่หว่า มันมากราบเฮา เฮาก็ให้ศีลให้พรมันไป ศิษย์ที่ถามพยายามไล่ให้ท่านจนแต้ม โดยบอกว่า มันจะย่ามใจในภายหลัง ท่านก็อธิบายว่า กรรมดีของมันทำไว้แต่อดีตยังคุ้มครองมันอยู่ ถ้ากรรมดีมันหมดสิ้นเมื่อไหร่ ตัวกูหรืออีหยังก็ช่วยมันบ่ได้ดอก หลายครั้งที่พระเถระผู้ใหญ่หรือคณะปกครองในท้องถิ่นสอบถามถึงความขลังของหลวงพ่อ ท่านจะยิ้มน้อยๆ แล้วตอบว่า วัตถุมงคลอีหยังก็สู้ความดีบ่ได้ดอก หมั่นเฮ็ดความดีไว้เถิด ความดีนี่แหละที่จะช่วยคุ้มครองเราเอง

    เมื่อว่าด้วยการสละหรือการให้ รวมกับสติปัญญาอันสูงส่งหลวงพ่อ จึงเป็นดั่งพระผู้เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐตามหัวข้อข้างต้น เหมือนคำของท่านคำหนึ่งซึ่งหลุดจากปากระหว่างการสนทนากับ บรรณาธิการ ลานโพธิ์ สุธน ศรีหิรัญ ในช่วงหนึ่งว่า ถ้าไม่มีความดี ถึงอยู่เป็นร้อยปี ก็ไม่มีประโยชน์ กราบหลวงพ่อครั้งที่ 2 ในเมตตาธรรมอันล้นเหลือ

หลวงปู่นาม "พระครูสุวรรณศาสนคุณ" พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งเมืองสุพรรณบุรี

    "พระครูสุวรรณศาสนคุณ" พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งเมืองสุพรรณบุรี มีพลังจิตเข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า ชาวบ้านต่างเรียกขานนามท่านว่า "หลวงปู่ผู้เฒ่า" หรือหลวงปู่นาม หรือพระอุปัชฌาย์นาม ปัจจุบัน พระครูสุวรรณศาสนคุณ สิริอายุ 94 พรรษา 73 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

    อัตโนประวัติ พระครูสุวรรณศาสนคุณ มีนามเดิมว่า นาม ไม่ทราบนามสกุล เกิดเมื่อปี พ.ศ.2464 เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีโดยกำเนิด สำหรับประวัติชื่อโยมบิดา-มารดา และประวัติในวัยเด็ก ไม่สามารถสืบค้นได้ แม้กระทั่งตัวหลวงปู่เองก็จำเหตุการณ์ในช่วงวัยเด็กไม่ค่อยได้

    ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดบ้านกร่าง โดยมีพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระปลัดทวี (หลานหลวงพ่อมุ้ย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมกับพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง พระอุปัชฌาย์ของท่าน ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้ท่านมีความรู้ทางด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง

    ในพรรษาที่ 4 ท่านได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดน้อยชมภู่ (เป็นวัด 2 วัดมารวมกัน วัดเก่ามาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดน้อยกับวัดชมภู่ รวมกันเรียกว่า วัดน้อยชมภู่) วัดนี้มีพระเกจิชื่อดังมาแต่เดิม ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้เจ้านายสมัยก่อน


    ท่านได้มาอยู่กับหลวงปู่ขำ เจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ หลวงปู่ขำ เป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว กับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ต่อมา ท่านได้ไปอยู่กับหลวงปู่เหมือน ผู้เป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม แห่งวัดน้อย และหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

    หลวงปู่เหมือน เป็นพระอภิญญา ท่านได้สั่งสอนถ่ายทอดสรรพวิชาให้ท่านมากมาย กล่าวกันว่า หลวงปู่เหมือน สามารถเสกตัวต่อให้เต็มวัด เพื่อไล่ขโมย หรือเสกข้าวให้ออกรวงทั่ววัด เพื่อเลี้ยงพระทั้งวัดก็ได้ เสกใบมะขามเป็นฝูงผึ้งไล่ลิง ที่เข้ามาทำลายข้าวของในวัด

    ดังนั้น หลวงปู่นาม จึงได้วิชาในสายหลวงปู่เหมือนมาอย่างเอกอุ พุทธาคมนี้หลวงปู่นามไม่เป็นสองรองใคร แต่ท่านไม่พูด ท่านเงียบเฉยเหมือนหลวงตาเฝ้าวัด แม้แต่หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณอีกรูปหนึ่ง ยังมีความสนิทสนมถูกอัธยาศัยกับหลวงปู่นาม ส่วนหลวงปู่นามยังเคยไปอยู่จำพรรษาที่วัดหลวงพ่อมุ่ย หลายครั้ง

    ตอนที่หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์ ยังมีชีวิตอยู่ คนมาขอพระเครื่อง ท่านยังบอกว่า "ที่สุพรรณ หมดหลวงพ่อมุ่ย ต้องไปหาพระอาจารย์นาม วัดน้อยฯ เขาเก็บไว้หมด"

    ในสมัยหนุ่ม หลวงปู่นามไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งสรรพวิชาต่อยอดในสายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านยังเป็นสหธรรมิกกับท่านเจ้าคุณผัน และท่านเจ้าคุณเที่ยง (เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ รูปปัจจุบัน) ท่านเจ้าคุณทั้งสองยังเรียกขานหลวงปู่นามว่า "หลวงพี่"

    หลวงปู่นาม ปลุกเสกพระเครื่อง เพื่อแจกลูกศิษย์ แต่ไม่ได้จัดพิธีใหญ่โต คนที่ได้รับไป ล้วนมีประสบการณ์ทุกคน หลวงปู่นาม เคยปรารภความหลังในกุฏิว่า "สมัยฉันหนุ่มๆ นะ เสกพระงบน้ำอ้อยไว้ ไม่แน่ใจนะ ก็เอาใส่รถไปให้หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย ท่านเสกให้ พอเปิดกล่อง ท่านก็บอกว่า ผมเสกไม่เข้าแล้ว ท่านเสกจนจะบินแล้วนี้"

    "ฉันก็ยังไม่แน่ใจ เอาอีก เอาไปให้หลวงพ่อดี วัดพระรูป ท่านเสก ท่านหยิบเท่านั้นแหละ ท่านกำพระไว้ ยกมือจบยกขึ้นเหนือหัวท่านเลย หาว่าเรามาล้อท่านเล่น ท่านว่า เสกจนหมุนได้แล้วนี่จะให้ผมทำอะไรอีก"

    ในด้านถาวรวัตถุ ท่านสร้างอุโบสถไว้หลายหลัง สร้างวิหาร กุฏิสงฆ์ ปรับภูมิทัศน์บริเวณวัดน้อยชมภู่ ให้เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม และแจกทุนการศึกษา ส่งพระภิกษุ-สามเณรมาเรียนกรุงเทพฯ ทุกปี

    หลวงปู่นาม หรือ พระครูสุวรรณศาสนคุณ เป็นยอดพระเกจิที่ชาวเมืองสุพรรณบุรี ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นคนเงียบ ไม่พูด ไม่คุย แต่ชาวเมืองสุพรรณทราบดีว่า พระรูปนี้เป็นยอดพระเกจิที่เข้มขลังขนานแท้ ท่านสืบพุทธคุณสายลุ่มแม่น้ำท่าจีนและสายสุพรรณมาอย่างครบถ้วน

    ปัจจุบัน หลวงปู่นาม ได้สร้างวัตถุมงคล อาทิ เหรียญรุ่นแรก ตะกรุดโทน เพื่อหาเงินไปสมทบทุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และนักเรียนที่ยากจน
    ซึ่งเป็นปณิธานของหลวงปู่ผู้เฒ่าแห่งสุพรรณบุรี

หลวงปู่กลั่น คุณวโร แห่งวัดใหม่อินทราวาส อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

    หลวงปู่กลั่น คุณวโร แห่งวัดใหม่อินทราวาส อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง แรกเริ่มเดิมที ท่านเป็นชาวโพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี สมัยยังเป็นฆราวาส ก็มีชีวิตเหมือนลูกผู้ชายไทยในอดีต คือ.เสือเก่า ท่านมีความสนิทสนม กันมากกับ อดีตเสือใหญ่แห่งเมืองสุพรรณฯ(เสือฝ้าย เพ็ชนะ) ท่านขลังมาตั้งแต่ก่อนบวชเสียอีก เพราะยามว้างท่านก็ไปรับจ้างลงใบลานในวัด และ เล่าเรียนวิชาจากพระอาจารย์(ลป.อ่อน อุตโม วัดชีสุขเกษม เป็นพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาหลักๆของท่านเป็นส่วนใหญ่-ต้นตำหรับพระยันต์ที่ท่านใช้เป็นตัวหลักคือ."น.ท้อทรหด") และ ลป.คำ วัดหน่อพุทธางกูล(อยู่ตรงกันข้าม) ท่านแสวงหาวิชา-พระอาจารย์ผู้ทรงคุณมากมายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น ลพ.อี๋(ไปเอา"กันหะ เนหะ"), ลพ.ภัก วักโบส, ลพ.ภู วัดดอนรัก(เอาการสร้างตะกรุด), ลพ.คำ โพธิ์ปล้ำ, พ่อท่านคล้าย สวนขัน(เอา ฤ ฤามา-ฦ ฦาไป ใช้เวลา.6 เดือนกว่าจะได้.ใช้เวลาเรียนมาที่สุดในเท่าที่เรียนมาทุกๆ พระอาจารย์ฯ) และ ฆราวาส(อิสลาม) จ.ปัตตานี(เอาวิชาดูตูดจาน"เปิด3โลก") ส่วนที่ว่า ท่านเป็นลูกศิษย์ ลพ.ดิ่ง วัดบางวัวนั้นไม่จริง ท่านไม่เคยไปเรียนกับ ลพ.ดิ่ง บางวัวเลย วิชา.ลิง(หนุมาร) และปลักขิก ท่านเรียนมาจาก ลป.อ่อน อุตโม ทั้งสิ้น เพราะ ลป.อ่อน อุตโม ท่านสร้างปลัดขิก และ ลิงไม้แกะ ด้วย ส่วนพระยันต์(สัพวิชาต่างๆ) ลป.กลั่น คุณวโรท่านนำมาใส่เสริมลงไปในวัตถุมงคลท่าน(เปรียบเสมือนยาหม้อใหญ่) วัตถุมงคลของท่านที่ทุกท่านรู้จักเสียส่วนใหญ่ ก็คือ.ปลัดขิก แต่จริงๆท่านสร้างไว้มากมาย ล้วนแล้วแต่มากประสบการณ์มากมาย วัตถุมงคลท่านๆท่านเสกเอง องค์เดียว ไม่นิมนต์ท่านใดมาร่วมเสก ท่านเคยบอกว่า(สมัยสร้างพระประธานในโบส"หลวงพ่อในโบส"พระพุทรูปศักดิ์สิทธิ์)ว่า.(ลูกศิษย์) ลป.ครับ จะนิมนต์พระอาจารย์รูปใดบ้าง มาฉลองโบสหลังใหม่-พระประธาน (ลป.กลั่น คุณวโร) จะเชิญท่านมาทำไม เราก็สร้างเอง-เสกเองได้ ดั่งที่ที่โบราณท่านว่าไว้.ชาติเสือ ไม่ขอเนื้อใครกิน วัตถุมงคลของท่านก่อนที่จะให้ใครไป ท่านจะต้องมั่นใจดีแล้วจึงให้ไป ท่านว่า.มันจะเป็นบาป-เป็นกรรม แต่ท่านก็ไม่เคยบอกกล่าวใครนะว่า.ของท่านดีอย่างไร-กันอะไร ท่านก็แค่กล่าวว่า.ของดี-ของมงคล จะเอาไว้ที่บ้านก็ดี เป็นมงคลบ้าน ไว้ที่ตัวก็ดี เป็นมงคลตัว ใครจะมาบอกว่า.พอเอาของท่านไปๆพบเจออะไรบ้างท่านก็เฉย กล่าวแต่ว่า.ก็ดี เป็นของมงคล แล้วก็ยิ้ม